วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เครื่องมือทำนาแบบพื้นบ้าน



เครื่องมือเครื่องใช้ในการเตรียมดิน
       คันไถ เครื่องมือที่ใช้พรวนดินก่อนการปลูกข้าว กลับหน้าดินเพื่อทำให้ดินร่วนซุย ไถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
คือ ไถวัว ซึ่งเป็นไถที่ใช้แรงงานวัวและไถควายซึ่งเป็นไถที่ใช้แรงงานควาย
       แอกเครื่องมือที่ใช้สำหรับสวมคอควายหรือวัวเพื่อที่จะไถ แอกมี 2 ชนิดคือ แอกวัวควายคู่ กับ แอกวัวควายเดี่ยว                
คันไถ และ  แอก
                               คราด เครื่องมือที่ใช้สำหรับคราดดินให้ร่วนซุย คราดมี 2 ชนิดคือ คราดวัวควายคู่ และ
คราดวัวควายเดี่ยว

                                                      
                                                                             คราด
                  ก๋วยกล้า เครื่องมือที่ใช้สำหรับใส่กำกล้าหรือขนย้ายสิ่งของ มักใช้ทางภาคเหนือ
                  ม้าหาบข้าว ใช้ในการเรียงต้นกล้าหรือฟ่อนข้าวในคันหลาว

                 ไม้หาบกล้า (บางถิ่นเรียกคันหลาว) ใช้สำหรับหาบต้นกล้าเพื่อนำไปปักดำ


                                                   
                 ตอก เครื่องมืออีกชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับมัดฟ่อนหรือกำกล้า มีอยู่ 2 ชนิดคือ ตอกมัดฟ่อนข้าว กับ
ตอกมัดกำกล้า
                 จอบ เครื่องมือสำหรับดายหญ้า พรวนดิน และเตรียมดิน

                                                       
                                                         

                                                                                                                                                ย้อนกลับ


   เครื่องมือเครื่องใช้ในช่วงเก็บเกี่ยว
            เคียว เครื่องมือเกี่ยวข้าวมีรูปโค้ง เคียวมี 2 ชนิดคือ เคียวงอ กับ เคียวลา
                          
                                       
                                             เคียว
             แกระ/แกะ เครื่องมือเกี่ยวข้าวที่ใช้เก็บรวงข้าว นิยมใช้ในภาคใต้
             ไม้หนีบ เป็นไม้คู่หนึ่งใช้หนีบมัดรวงข้าวเพื่อยกข้าวฟาดลงบนลานหรือม้ารองนวดข้าว
หัวไม้ผูกติดกันด้วยเชือก

                                          
                                                   ไม้หนีบ
              ม้ารองนวดข้าว เอาไว้ใช้สำหรับรองรับฟ่อนข้าวเพื่อนวดหรือฟาดเพื่อตีเมล็ดข้าวจะได้หลุดร่วง
              ฟอยหนาม ใช้กวาดเศษฝุ่นและเศษฟางออกจากกองข้าวเปลือก
              ขาหมา เป็นเครื่องมือใช้หาบข้าว ประกอบด้วยตัวขาหมาทำจากไม้ไผ่เป็นรูปกากบาท 2 คู่ ขาไม้ทะลุตัวไม้ขึ้นมาทำเป็นกะบะสำหรับใส่รวงข้าวบุด้วยเสื่อรำแพน

                                             
                                                                      ขาหมา
              พัดวี ใช้สำหรับพัดฝุ่นผงและข้าวลีบให้ออกจากกองข้าวเปลือก

                                                
                                                              พัดวี

                                                                                                                                 

 

เปิบข้าว

ความหมายของ"ชาวนา"

ชาวนา คืออาชีพทางเกษตรกรรม ในประเทศไทยมักมีความหมายถึงอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก ชาวนาในประเทศไทยนับว่าเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุด เพราะข้าวเป็นอาหาร หลักของคนไทย อาชีพทำนาเป็นอาชีพดั้งเดิมของคนไทย ที่สืบทอดมายังอนุชนรุ่นหลัง โดยส่วนใหญ่แล้วชาวนาจะใช้ชีวิตอยู่โดยสงบเงียบในชนบท
การทำงานของชาวนาจะเริ่มทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำตลอดทั้งปี เพราะหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวประจำปีแล้ว พวกเขาก็จะเริ่มปลูกข้าวนาปรัง หรือพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ต่ออีก หรือไม่ก็เลี้ยงปศุสัตว์หรือสัตว์อื่น ๆ เสริม เช่น ปลาและ เป็ด เป็นตัน โดยปกติปลาจะอาศัยอยู่ตามธรรมชาติในนาข้าว ดังนั้น ต้นกล้าและปลาจะเติบโตไปพร้อม ๆ กัน
ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะปลูกข้าวกันทั้งประเทศ และปลูกกันมากในภาคกลาง ซึ่งจนถึงกับบางครั้งคำเรียกภาคกลาง ว่า "อู่ข้าวอู่น้ำ" ของเอเซีย

           ต้นกล้าที่อยู่ในระยะที่เหมาะสำหรับการถอนกล้า (หลกกล้า) ไปดำนั้นจะเป็นกล้าที่มีอายุประมาณ 20-25 วัน กรณีหากมีน้ำอุดมสมบูรณ์ แต่หากน้ำในแปลงนาตกกล้าไม่มีก็สามารถรอจนกระทั่งมีน้ำแต่ก็ไม่ควรเกิน 30-35 วัน เพราะหากเกินระยะเวลานี้ไปจะทำให้กล้าบั้ง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระยะห่างของการหว่านกล้าด้วย ซึ่งหากหว่านกล้าถี่เกินไปจะทำให้กล้าแน่น ต้นกล้าจะแตกกอไม่ได้ส่งผลให้กล้าแตกปล้องเร็ว กลายเป็นกล้าบั้ง 


การทำนา

การทำนา หมายถึง การปลูกข้าวและการดูแลรักษาต้นข้าวในนา ตั้งแต่ปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว การปลูกข้าวในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามสภาพของดินฟ้าอากาศ และสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ ในแหล่งที่ต้องอาศัยน้ำจากฝนเพียงอย่างเดียว ก็ต้องกะระยะเวลาการปลูกข้าวให้เหมาะสมกับช่วงที่มีฝนตกสม่ำเสมอ และเก็บเกี่ยวในช่วงที่ฤดูฝนหมดพอดี เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นมีสภาพดินฟ้าอากาศที่แตกต่างกัน 
สำหรับการทำนาในประเทศไทยมีปัจจัยหลัก 2 ประการ เป็นพื้นฐานของการทำนาและเป็นตัวกำหนดวิธีการปลูกข้าว และพันธุ์ข้าวที่จะใช้ในการทำนาด้วยหลัก 2 ประการ คือ
1. สภาพพื้นที่ ( ลักษณะเป็นพื้นที่สูงหรือต่ำ )  และภูมิอากาศ
2. สภาพน้ำสำหรับการทำนา